top of page
  • Facebook

ประวัติความเป็นมา
ของชุมชนวัดเทวราชกุญชร

S__4841479_0.jpg

ครัวกรุงเทพฯ

หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ ชุมชนวัดเทวราชกุญชรก็ร่วมกันศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชน เนื่องจากเป็นชุมชนที่ก่อตั้งมานาน และมีภูมิปัญญาด้านอาหารเฉพาะตัวที่ล้ำค่า ชุมชนวัดเทวราชกุญชรจึงผลักดันตัวเองให้ก้าวขึ้นมาเป็นครัวกรุงเทพฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาเมือง จนรอดพ้นวิกฤตการณ์มาได้ในที่สุด

ชุมชนวัดเทวราชกุญชร เคยได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2560 จากโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หนึ่งในโครงการขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร เป็นการพัฒนาทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่ง ที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชุมชนจากความเจริญของการพัฒนาเมือง กระทั่งเกือบทำให้ชุมชนรวมถึงภูมิปัญญาอันสืบทอดกันมายาวนานของชุมชนวัดเทวราชกุญชรต้องสูญหาย

วิกฤตการณ์

55555.png
266562.jpg

ภูมิปัญญา

ผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่มีทักษะด้านการทำอาหารสูตรชาววังที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ผู้คนในชุมชนวัดเทวราชกุญชร ประกอบอาชีพจัดเลี้ยงอาหารบุฟเฟ่ต์เป็นอาชีพหลักมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดเลี้ยงอาหารชาววังแบบบุฟเฟ่ต์ในกรุงเทพมหานครด้วย

ชุมชนวัดเทวราชกุญชร เป็นชุมชนของเหล่าข้าราชบริพารที่เคยอยู่รับใช้ในวัง เริ่มก่อตั้งสมัยรัชกาลที่ 4 หลังจากได้รับพระราชทานให้เช่าพื้นที่ธรณีสงฆ์บนที่ดินของวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร พื้นที่บริเวณนี้อยู่ติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองผดุงกรุงเกษม ปัจจุบันชาวชุมชน

วัดเทวราชกุญชรยังคงเป็นสายตระกูลข้าราชบริพารเหล่านั้น

แรกก่อตั้ง

266578.jpg

ที่มาข้อมูล

ประภาดา มูลศรี, คุณนิพนธ์ เจริญโภคราช ,จณัญญา ตริตรอง ,สรเทพ โรจน์พจนารัช ,และเฉลิมลักษณ์ เอก มณี. (2563). ครัวกรุงเทพฯ : การสืบทอดอาหารไทยชาววังสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจจัดเลี้ยงอาหารชุมชนวัดเทวราชกุญชร กรุงเทพฯ (รายงานความก้าวหน้าการวิจัย). ม.ป.ท.: ม.ป.ส.

วิดีโอทั้งหมด

วิดีโอทั้งหมด

ดูตอนนี้
  1. รถประจำทาง สาย 3, 9, 16, 30, 32, 33, 49, 64, 65

  2. รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.5, ปอ.6 ปอ.16, ปอ.49

00008.png
0009.jpg
unnamed.jpg

สามารถสมัครติดตามเว็บไซต์ชุมชนวัดเทวราชกุญของเราได้ ที่นี่ เพียงใส่ E-mail ของท่านเอาไว้ เพื่อไม่พลาดข่าวสาร กิจกรรม และบทความใหม่ๆ ของชุมชนเรา 

Thanks for submitting!

© 2021 by Devarajkunchorn Community. 

bottom of page